พช.โครงการ 90 วัน ปลูกผักสวนครัว ระยะที่ 2 สร้างวัฒนธรรมปลูกพืชผักประจำครัวเรือน

กรมการพัฒนาชุมชนน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี สู่แผนปฏิบัติการ 90 วัน ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารระยะที่ 2 สร้างวัฒนธรรมปลูกพืชผักประจำครัวเรือน

กรมการพัฒนาชุมชน (พช.) กระทรวงมหาดไทย ประกาศความสำเร็จ “ปฏิบัติการ 90 วันปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร” ระหว่างเมษายน-มิถุนายน 2563จากครัวเรือนเป้าหมายทั้งหมดจำนวน 12,977,039 ล้านครัวเรือน เพียง 90 วันมีประชาชนทั่วประเทศร่วมปลูกผักสวนครัวถึง 12,601,491 ครัวเรือน คิดเป็น 97.11% โดยมี18 จังหวัดจากทุกภาค ปลูกครบ 100% ได้แก่ ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ตาก อุบลราชธานี พัทลุงสุโขทัย อุดรธานี สุราษฎร์ธานี สกลนคร ชัยภูมิ ตราด บึงกาฬ เพชรบุรี มุกดาหารสมุทรสงคราม ประจวบคีรีขันธ์ นครพนม และภูเก็ต

แนวทางการขับเคลื่อนเน้นการปลูกผักที่กิน กินผักที่ปลูก มีพืชผักปลอดภัยประหยัดรายจ่ายในครัวเรือน โดยหากคนไทย 12 ล้านครัวเรือน ประหยัดเงินจากการซื้อผักวันละ50 บาท กว่า 600 ล้านบาท/วัน 18,000 ล้านบาท/เดือน รวมแล้วประหยัดได้กว่า 200,000ล้านบาท/ปี

หลังประกาศความสำเร็จ ปลูกผักสวนครัว ระยะที่ 1 เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารมีพี่น้องประชาชนกว่า 12.6 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศร่วมขับเคลื่อนกรมการพัฒนาชุมชนจึงเดินหน้าขับเคลื่อนต่อเนื่อง ระยะที่ 2 ระหว่าง 1 กรกฎาคม – 5ธันวาคม 2563 เพื่อเป้าหมาย 5 ประการสำคัญ ได้แก่ “ความต่อเนื่องคือพลัง” ส่งเสริมการปลูกพืชผักอย่างต่อเนื่อง และปลูกเพิ่มเติมรวม 10 ชนิด “ทำเป็นบ้านสานเป็นกลุ่ม” ส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มปลูกพืชผักประจำครัวเรือนเพื่อบริหารจัดการผลผลิตส่วนเกินให้มีมูลค่าเพิ่มในอนาคต “ชุมชนสีเขียวเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”  สร้างจิตวิญญาณรักสิ่งแวดล้อมและสร้างชุมชนสีเขียว“จากวัฒนธรรม สู่นวัตกรรม” ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหารและของใช้ต่างๆ ในชีวิตประจำวันจากพืชผักอาหารรักษ์สุขภาพ และ “ชุมชนเกื้อกูล เพิ่มพูนสามัคคีวิถีพอเพียง” เกิดชุมชนเกื้อกูล สามารถดูแล ช่วยเหลือ และแบ่งปันจุดตั้งศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์หรือต่อยอดในรูปแบบอื่นๆ

การขับเคลื่อนครั้งนี้มุ่งหวังให้เกิดความมั่นคงทางอาหารอย่างแท้จริงในทุกชุมชนทั่วประเทศทำให้พี่น้องประชาชนมีพืชผักปลอดภัยไว้กินเองและแบ่งปัน รวมถึงขยายผลต่อยอดสร้างรายได้ และสิ่งสำคัญคือ เพื่อตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร ยกระดับโภชนาการ ส่งเสริมการเกษตรกรรมที่ยั่งยืน ขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งเชื่อมั่นว่าจะเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอนในประเทศไทยของเรา

You May Also Like

Leave a Reply

Your email address will not be published.