สดช. มอบรางวัลยกย่องบุคคลและองค์กรที่มีการนํา แนวทางจริยธรรมปัญญาประดิษฐ์มาประยุกต์ใช้งานดีเด่น เพื่อเป็นแบบอย่างในการแปลงแนวปฏิบัติจริยธรรม ปัญญาประดิษฐ์ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวภายหลังเป็นประธาน ในพิธีมอบรางวัลการประยุกต์ใช้งานแนวปฏิบัติจริยธรรมปัญญาประดิษฐ์ กิจกรรมส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์ใช้ งานแนวปฏิบัติจริยธรรมปัญญาประดิษฐ์ พร้อมกล่าวปาฐกถาแสดงความยินดีกับผู้ได้รับรางวัล ณ โรงแรมเบสท์เวส เทิร์น พลัส แวนดา แกรนด์ ถนนแจ้งวัฒนะ จ.นนทบุรี

รู้สึกยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มอบรางวัลในวันนี้ สืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564 ได้รับทราบและเห็นชอบแนวปฏิบัติจริยธรรม ปัญญาประดิษฐ์ ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เสนอ โดยให้กระทรวงฯ เร่งสร้างความเข้าใจกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับแนวปฏิบัติจริยธรรมปัญญาประดิษฐ์ ทั้งในประเด็นแนวคิด นิยาม และแนวทางในการ แปลงแนวปฏิบัติจริยธรรมปัญญาประดิษฐ์ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม กระทรวงฯ จึงได้มอบให้สํานักงาน คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สนช.) ในฐานะหน่วยงานขับเคลื่อนการดําเนินงาน ตามนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นผู้ดําเนินโครงการ สร้างความตระหนักรู้ การประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์แบบมีจริยธรรมเพื่อรองรับการขับเคลื่อนสู่อุตสาหกรรมแห่ง อนาคต (Understanding Artificial Intelligence ethics in The new S-Curve industries)

โดย สดช. ได้มีการ จัดทําระเบียบ มาตรการ และมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์ เพื่อเป็นการวางรากฐานในการพัฒนาและ นําเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ไปใช้งานให้เกิดความเชื่อมั่น มีความน่าเชื่อถือ มั่นคง ปลอดภัย และสอดคล้องกับ มาตรฐานสากล ซึ่งเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแผนปฏิบัติการ ด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (พ.ศ. 2565 – 2570) ที่กระทรวงฯ ได้ดําเนินการร่วมกับ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยมุ่งหวังให้ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ ภาคการศึกษาในประเทศไทย เกิดความตระหนักและมียุทธศาสตร์ในการเตรียมความพร้อมเพื่อตอบรับกับการ เกิดขึ้นของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์แบบบูรณาการ

“การจะนําปัญญาประดิษฐ์มาประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพปัจจัยสําคัญที่ต้องพิจารณาควบคู่กัน คือ การกําหนด ยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ขององค์กรที่ชัดเจน การพัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลง ออกแบบ กระบวนการควบคุมและกํากับการทํางานที่ชัดเจน มีข้อมูลขนาดใหญ่และเนื้อหาครบถ้วน มีเทคโนโลยีและ แพลตฟอร์มพร้อมที่จะรองรับการทํางาน และดําเนินการตามแนวปฏิบัติจริยธรรมปัญญาประดิษฐ์ ทั้งนี้ ขอให้ทุกภาคส่วน มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อให้เกิดการกํากับดูแลอย่างเป็นธรรม (Governance)

ด้าน นายภุชพงค์ โนดไธสง เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการ สร้างความตระหนักรู้ฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการตระหนักรู้ด้านจริยธรรมปัญญาประดิษฐ์สําหรับ ผู้ที่เกี่ยวข้องให้พร้อมเข้าสู่การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมแห่งอนาคตของประเทศ รวมถึงจัดทําหลักสูตรการเรียนรู้ (Online Course) สําหรับกลุ่มเป้าหมายในการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์ และพัฒนาทักษะในการใช้ เครื่องมือ (Tools) ในการตรวจสอบและเพิ่มประสิทธิภาพระบบปัญญาประดิษฐ์ ให้สอดคล้องตามแนวปฏิบัติ จริยธรรมปัญญาประดิษฐ์ และเพื่อเกิดเครือข่ายการยกระดับการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์อย่างมีจริยธรรม ในประเทศ.

ซึ่งมีผลการดําเนินการที่สําคัญ ได้แก่

1) จัดทําหลักสูตรการเรียนรู้ พัฒนาสื่อและคู่มือสําหรับการเรียนรู้ ด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์ ในการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ที่สอดคล้องกับแนวปฏิบัติจริยธรรม ปัญญาประดิษฐ์

2) พัฒนาเครื่องมือที่ช่วยในการตรวจสอบและเพิ่มประสิทธิภาพระบบปัญญาประดิษฐ์ให้มีการ ดําเนินการประมวลผลและการทํางาน ตลอดจนให้บริการอย่างมีจริยธรรมตามแนวปฏิบัติจริยธรรมปัญญาประดิษฐ์

3) ฝึกอบรมหลักสูตรการเรียนรู้และการใช้เครื่องมือที่พัฒนาขึ้น ให้แก่บุคลากรของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและ ประชาชนทั่วไป โดยได้ดําเนินการฝึกอบรมในภาคทฤษฎีผ่านระบบออนไลน์ จํานวน 4,112 คน และอบรมใน ภาคปฏิบัติ (Workshop) ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค จํานวน 1,229 คน แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2565

4) จัดทําร่างแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนจริยธรรมปัญญาประดิษฐ์ เพื่อขยายผลในระยะต่อไป ทั้งนี้ คาดว่าจะ สามารถยกระดับการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์อย่างมีจริยธรรมในประเทศ และเพื่อเป็นแบบอย่างในการ แปลงแนวปฏิบัติจริยธรรมปัญญาประดิษฐ์ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมได้

สําหรับผู้ได้รับรางวัลยกย่องบุคคลและองค์กรที่มีการนําแนวทางจริยธรรมปัญญาประดิษฐ์มาประยุกต์ใช้งาน ครอบคลุมบทบาทในแนวปฏิบัติจริยธรรมปัญญาประดิษฐ์ทั้ง 3 บทบาท โดยการพิจารณาตัดสินจากผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ จํานวน 15 รางวัล เงินรางวัลรวมกว่า 2 แสนบาท พร้อมโล่รางวัล และ ใบประกาศนียบัตร ประกอบด้วย ระดับบุคคล จํานวน 12 รางวัล

1. บทบาทผู้รักษากฏ นโยบาย และบริหารจัดการกฏระเบียบ (Regulator) จํานวน 4 รางวัล
– รางวัลชนะเลิศ : คุณสมบัติ สิริพัฒนากุล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
– รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 : คุณลดาวัลย์ ไพศาลวรภัทร CEO บริษัท แพลนเตอร์ กรุ๊ป จํากัด
– รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 : คุณธนนท์ มาเจริญ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัล เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยรังสิต
– รางวัลชมเชย : คุณณัฐวุฒิ ชูชื่น กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

2. บทบาทนักวิจัย นักพัฒนา (Developer) จํานวน 4 รางวัล
– รางวัลชนะเลิศ : คุณธเนศ สิงห์ลอ ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
– รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 :
คุณวสันต์ ณ ชัย กลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ ทีมวิจัยเทคโนโลยีภาษาธรรมชาติ และความหมาย
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
– รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 : คุณอภิสิทธิ์ เบนอารีย์ ส่วนงานโครงข่ายโทรศัพท์ประจําที่ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จํากัด (มหาชน)
– รางวัลชมเชย : คุณสรรเพชญ พูลสุขโข กองเทคนิคและเครือข่าย สํานักเทคโนโลยีสารสนเทศ การยาสูบ แห่งประเทศไทย

3. บทบาทผู้ใช้งานหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากระบบปัญญาประดิษฐ์ (User) จํานวน 4 รางวัล
– รางวัลชนะเลิศ : คุณมินตรา ทองตัน สาขาการจัดการสารสนเทศทางธุรกิจสําหรับผู้ประกอบการดิจิทัล
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
– รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 : คุณขวัญฤทัย แซ่ลิ่ม สาขาการจัดการธุรกิจดิจิทัลและนวัตกรรม
คณะ วิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
– รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 : คุณธนากร เวสารัชช์
ธนาคารออมสิน สาขาลําไทร อําเภอลําลูกกา จังหวัด ปทุมธานี
– รางวัลชมเชย : คุณพลอยชมพู นวนเปี้ย สาขาการบัญชี
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

รางวัลระดับองค์กร จํานวน 3 รางวัล ประกอบด้วย โล่รางวัล พร้อมใบประกาศนียบัตร
– รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ หน่วยวิจัยวิทยาการสื่อสารของมนุษย์และคอมพิวเตอร์
ศูนย์เทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
– รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ ส่วนงานโทรศัพท์ประจําที่ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จํากัด (มหาชน).

You May Also Like

Leave a Reply

Your email address will not be published.