ม.รังสิต มอบรางวัลวิศวกรรมชีวการแพทย์ และวิศวกรชีวการแพทย์ดีเด่น ประจำปี 2567 มุ่งส่งเสริมงานวิศวกรรมชีวการแพทย์ของประเทศไทย

          มหาวิทยาลัยรังสิต มอบรางวัลวิศวกรรมชีวการแพทย์ และวิศวกรชีวการแพทย์ดีเด่น ประจำปี 2567 มุ่งชี้นำและส่งเสริมงานวิศวกรรมชีวการแพทย์ของประเทศไทย เพื่อรองรับการดูแลรักษาสุขภาพของประชนในยุค Value Based Healthcare

รองศาสตราจารย์นันทชัย ทองแป้น คณบดีวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า เนื่องด้วยกระบวนทัศน์ทางด้านการแพทย์ของโลกได้เปลี่ยนจากการแพทย์เชิงรักษาหรือการแพทย์เชิงปริมาณ (Valume Based) เป็นการแพทย์เชิงป้องกันหรือการดูแลรักษาสุขภาพ (Value Based) และวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ร่วมกับ สมามาคมเทคโนโลยีสุขภาพไทย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กองวิศวกรรมการแพทย์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และบริษัทเอกชน จัดงานประชุมวิชาการประชุมวิชาการเทคโนโลยีสุขภาพแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4 เรื่องเทคโนโลยีการดูแลสุขภาพอัจฉริยะอย่างยั่งยืน โดยจุดประสงค์หลักนอกจากเป็นเวทีสำหรับนักวิจัยและนักวิชาการ ตลอดจนนักนวัตกรรมในการนำเสนอผลงานที่เน้นการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงแล้วยังเน้นในด้านการกระตุ้น และส่งเสริมการพัฒนาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์อีกทางหนึ่งด้วย

เนื่องด้วยองค์การอนามัยโลกได้วางยุทธศาสตร์ในเรื่องการดูแลรักษาสุขภาพของประชนแบบยั่งยืนโดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกวิชาชีพที่เกี่ยวข้องในการร่วมกันดูแลรักษาสุภาพของประชนโดยหนึ่งในนั้นคือ วิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์ซึ่งในโลกยุคศตวรรษที่ 21 นั้นถือว่าเป็นหนึ่งในเสาหลักนอกเหนือจากแพทย์พยาบาลและเภสัชกรในกระบวนการที่ร่วมมือกันเพื่อดูแลรักษาสุขภาพของประชาชน

ดังนั้น ในฐานะที่วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นหนึ่งในสถาบันอุดมศึกษาที่ผลิตบัณฑิตรวมทั้งพัฒนางานในทุกมิติทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ จึงได้จัดกิจกรรมที่มุ่งกระตุ้นส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์ของประเทศไทยให้ก้าวหน้าทัดเทียมกับมาตรฐานระดับนานาชาติ จึงได้จัดกิจกรรมมอบรางวัลให้แก่โรงพยาบาลที่มีมาตรฐานและคุณภาพงานทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ดีเด่นประจำปี 2567 ขึ้น รวมทั้งมอบรางวัลวิศวกรชีวการแพทย์ดีเด่นประจำปี 2567 ขึ้นในงานดังกล่าวด้วย

“สำหรับในปีนี้มีโรงพยาบาลที่ได้รับรางวัลทั้งสิ้นจำนวน 13 โรงพยาบาลจากทั่วประเทศ โดยแยกเป็นระดับเหรียญทองจำนวน 5 โรงพยาบาล และได้รับเหรีญเงินจำนวน 8 โรงพยาบาล รวมทั้งได้มอบรางวัลวิศวกรชีวการแพทย์ดีเด่น จำนวน 8 คน ทั้งนี้ วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์จะติดตามความก้าวหน้าของการพัฒนางานทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ของแต่ละโรงพยาบาล ในทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อมอบรางวัลในระดับสูงขึ้นไปทั้งในระดับโรงพยาบาล และระดับวิศวกรชีวการแพทย์เป็นรายบุคคลในปีต่อ ๆ ไป เพื่อให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยวัตถุประสงค์หลักที่สำคัญคือ เพื่อทำให้การดูแลรักษาสุขภาพของประชาชนเป็นไปในทิศทางที่ประชาชนสามารถเข้าถึงการบริการการดูแลรักษาสุขภาพได้ตลอดเวลา อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและเท่าเทียมซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ขององค์การอนามัยโลกในด้านแผนการพัฒนาระบบการดูแลรักษาสุขภาพแบบยั่งยืน”  คณบดีวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ ม.รังสิต กล่าว

You May Also Like

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *