Dr.Wang Xiaojun คณบดีวิทยาลัยดนตรี แห่ง มหาวิทยาลัยศิลปะหนานจิง พร้อมคณาจารย์ อาทิเช่น Dr. Wei Wei รองคณบดีวิทยาลัยดนตรี รองศาสตราจารย์ Liu Qiang และรองศาสตราจารย์ Tong Ying อาจารย์ประจำภาควิชาดนตรีพื้นเมือง รวมถึงอาจารย์ประจำภาคสาขาเอกดนตรีอีก 7 ท่านเช่นกัน ร่วมเดินทางมาเยี่ยมเยียนมหาวิทยาลัยเกริก เพื่อสานสัมพันธ์ระหว่างสองมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมด้านดนตรีไทย-จีน โดยร่วมกันสร้างศูนย์แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมทางศิลปะระหว่างไทย-จีนขึ้นอีกด้วย ทั้งนี้มหาวิทยาลัยศิลปะหนานจิงยังได้นำเสนอการบรรยายวิชาการและการแสดงดนตรีจากนักดนตรีคุณภาพที่มากด้วยประสพการณ์ มาบรรเลงและแบ่งปันความรู้ แก่ผู้มีเกียรติในงานในครั้งนี้ เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2566 ณ มหาวิทยาลัยเกริก กรุงเทพฯ
บรรยากาศในงาน ศ.ดร.นพ. กระแส ชนะวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกริก และ Dr.Li Liguang ประธานคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยนานาชาติ ตลอดจนคณะผู้บริหารและตณาจารญ์ร่วมให้การต้อนรับ Dr. Wang Xiaojun คณบดีวิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยศิลปะหนานจิง และคณะ โดยมีการกล่าวคำทักทาย และแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความคิดเห็นเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย-จีน วัฒนธรรมทางดนตรี รวมไปถึงแนวทางการพัฒนาบริหารของมหาวิทยาลัยทั้งสองแห่ง
ทั้งนี้ทั้งสองมหาวิทยาลัยได้การร่วมลงนามจัดตั้งศูนย์แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมศิลปะ อันเป็นการสานสัมพันธ์ต่อความร่วมมือในการพัฒนาด้านต่างๆในอนาคตระหว่างสองมหาวิทยาลัยในอนาคตต่อไป และในช่วงต่อมา เป็นการจัดแสดงงานวิชาการพร้อมการแสดงดนตรีที่ถ่ายทอดพลังและจิตวิญญาณของนักดนตรีจากวิทยาลัยดนตรี ม.ศิลปะหนานจิง ผ่านเสียงเพลง Dr. Wang Xiaojun บรรยายในหัวข้อ《甲骨文乐字本义考释》เนื้อหาหลักได้อธิบายความเป็นมา ความหมายดั้งเดิมของ “เจี๋ยกู่เหวิน” ซึ่งเป็นอักษรจีนโบราณชนิดหนึ่งที่จารึกไว้บนกระดองเต่า ทำให้ผู้รับฟังได้รู้จักและสัมผัสได้ถึงเสน่ห์อันเป็นเอกลักษณ์ของ “เจี๋ยกู่เหวิน”
นอกจากนี้ยังการแสดงของทั้งสองมหาวิทยาลัยที่ล้วนมีความน่าสนใจ ซึ่งเตรียมไว้สำหรับงานครั้งนี้ การแสดงประกอบด้วย Spring in Jiangnan เพลงที่สื่อถึงทิวทัศน์ในฤดูใบไม้ผลิที่งดงาม A Parting Tune with a Thrice Repeated Refrain ” บทเพลงกู่ฉินที่มีประวัติยาวนานกว่า 400 ปี แสดงความเสียใจที่ต้องบอกลาเพื่อนฝูง และ Wบทเพลงทิวทัศน์อันงดงามราวกับบทกวีของเมืองน้ำเจียงหนาน “Tanci Rhyme” ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างกู่เจิ้ง หยางฉิน และผีผา และไฮไลท์สำคัญของงานคือการแสดง The Loy Kratong Festival ที่บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีจีนทั้งหมด ทั้งนี้ยังมีชุดการแสดงไทยจากมหาวิทยาลัยเกริก เช่นการรำอวยพรเปรียบเหมือนการต้อนรับคณาจารย์จากม.ศิลปะหนานจิง การแสดงรำฟ้อนที ศิลปะการเต้นรำจากภาคเหนือของประเทศไทย
สำหรับการพบปะแลกเปลี่ยนระหว่างสองมหาวิทยาลัยในครั้งนี้ไม่เพียงแต่ได้แลกเปลี่ยนทางด้านดนตรีศิลปะ ยังได้แลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมสะพานเชื่อมทั้งสองมหาวิทยาลัย ใช้ศิลปะ ดนตรี และวัฒนธรรม ในการสร้างสัมพันธภาพที่ดี และเติบโต สู่พัฒนาด้านการเรียนการสอนและด้านอื่นๆระหว่างมหาวิทยาลัยทั้งสองแห่ง โดยผ่านการแลกเปลี่ยนและการเรียนรู้ร่วมกัน