สสว. ยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการในพื้นที่ EEC หวังสร้างแต้มต่อเอสเอ็มอีไทย ผ่านเทคโนโลยีและนวัตกรรม

สสว. จัดประชุมชี้แจงแนวทางและแผนการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนาการเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในพื้นที่ EEC และพื้นที่ต่อเนื่อง ปีงบประมาณ 2567

นางสาวปณิตา ชินวัตร รองผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เปิดเผยว่า ในปี 2567 นี้ สสว.ได้จัดให้มี โครงการส่งเสริมและพัฒนาการเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในพื้นที่ EEC และพื้นที่ต่อเนื่อง ในปีงบประมาณ 2567 ซึ่งเป็นการส่งเสริมและเพิ่มขีดความสามารถ เพื่อยกระดับนวัตกรรมในอุตสาหกรรมเป้าหมายให้เกิดการลงทุนหรือสามารถก่อตั้งธุรกิจได้ พร้อมเชื่อมโยงแหล่งเงินทุนให้กับผู้ประกอบการที่ยกระดับนวัตกรรมในธุรกิจ และยังเป็นการเพิ่มโอกาสทางการค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศให้กับผู้ประกอบการในเขตพื้นที่ โดยมีการจัดประชุมขึ้นระหว่างวันที่ 3-6 กันยายน 2567 ในแบบ Mini Roadshow ในพื้นที่เป้าหมาย ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง และจันทบุรี โดยได้รับเกียรติจากคณะผู้บริหาร สสว. ร่วมด้วย ผู้บริหารหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐ และเอกชน ร่วมประชุมหารือเพื่อหาแนวทางการดำเนินงานที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่

รักษาการแทน ผอ. สสว. เผยอีกว่า ในการประชุม ได้มีการนำเสนอภาพรวมของโครงการส่งเสริมและพัฒนาการเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในพื้นที่ EEC และพื้นที่ต่อเนื่อง ภายในปีงบประมาณ 2567 เป็นต้นว่า สิ่งที่ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับ, คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ/กลุ่มเป้าหมาย, แผนการดำเนินกิจกรรมโครงการทั้งหมด, วิธีการรับสมัคร และเกณฑ์การคัดเลือกผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการ, การแนะนำหน่วยงานที่เข้าร่วมประชุมและบทบาทของแต่ละหน่วยงาน

“สิ่งที่ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับ คือ ความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเป็นผู้ประกอบการใหม่ เพื่อเปิดประตูสู่ธุรกิจและนวัตกรรม, พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเชิงลึกเพิ่มคุณค่าผ่านการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม, มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการตลาดในประเทศ, มีโอกาสนำสินค้าเข้าร่วมในงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ, มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุน จากสถาบันการเงินของภาครัฐ และการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และเชื่อมโยงธุรกิจระหว่างกลุ่มธุรกิจที่เข้าร่วมโครงการ” นางสาวปณิตาระบุ

ทั้งนี้ ผู้สมัครเข้าร่วมโครงการจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ เป็นบุคคลทั่วไปที่ต้องการเป็นผู้ประกอบการ (มีการดำเนินธุรกิจ), ผู้ประกอบการที่ยังไม่จดทะเบียน, ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนแล้วไม่เกิน 3 ปี มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา, จังหวัดชลบุรี, จังหวัดระยอง และจังหวัดจันทบุรี ที่มีการดำเนินกิจการในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ต่อยอดอัตลักษณ์ เชิงพื้นที่สร้าง Value Creation, อุตสาหกรรมเกษตรและเทคโนโลยี/แปรรูปอาหาร และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

โดยกิจกรรมการพัฒนาผู้ประกอบการตลอดโครงการ ตั้งแต่เดือนกันยายน ถึง เดือนธันวาคม 2567 จะประกอบไปด้วย กิจกรรมที่ 1 : ฝึกอบรมหลักสูตรการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ Entrepreneurship เปิดประตูสู่ความ เป็นผู้ประกอบการและนวัตกรรม (เดือนกันยายน / 150 ราย) กิจกรรมที่ 2 : กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพการดำเนินธุรกิจเชิงลึกโดยรับการพัฒนารายละ 6 ครั้ง (13 กันยายน ถึง 28 ตุลาคม 2567 /รวม 45 วัน) กิจกรรมที่ 3.1 : สนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาดต่างประเทศ (20 ราย) กิจกรรมที่ 3.2 : สนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาดในประเทศ (20 ราย) และกิจกรรมที่ 4 : เชื่อมโยงแหล่งเงินทุน ได้แก่ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME D Bank) และสถาบันการเงินอื่นๆ (30 ราย/ ธันวาคม 2567)

สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และเอกชน พร้อมจับมือสานพลังในโครงการนี้ อาทิ
1.สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัด 2.สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด 5.สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด 6.สำนักงานพาณิชย์จังหวัด 7.สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด 8.สำนักงานคลังจังหวัด 9. สำนักงานเกษตรจังหวัด 10.หอการค้า 11.สมาพันธ์ SME ไทย 12.สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย 13.คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และ14.คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

You May Also Like

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *