สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) วางเป้าหมายพัฒนาศักยภาพนักประดิษฐ์สายอาชีวศึกษาของภาครัฐและเอกชน จากหลายร้อยสถาบันการศึกษาใน 4 ภูมิภาค เพื่อเพิ่มฐานความรู้ด้านเทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม ในการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์สู่การใช้ประโยชน์ และเพื่อระดมสมองแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมถึงการพัฒนารูปแบบและเนื้อหาการบ่มเพาะนักประดิษฐ์สายอาชีวศึกษาให้สอดคล้องตามทิศทางการพัฒนากำลังคนด้านอาชีวศึกษาที่ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ และเขตเศรษฐกิจพิเศษ
โดยมีบุคลากรระดับผู้บริหาร อาจารย์ สายอาชีวศึกษาทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เข้าร่วมประชุม จำนวน ๓๕๐ คน ในการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “Meet the Trainers : Invention & Innovation สายอาชีวศึกษา” ภายใต้แนวคิด Change for the Future อาชีวะก้าวไกล ด้วยวิจัยและนวัตกรรม ระหว่างวันที่ 29 – 30 กันยายน 2562 ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมมารวย การ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร
โดยมีศาสตราจารย์นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีเปิดและบรรยายพิเศษ เรื่อง “พัฒนากำลังคน 4.0 ด้วยวิจัยและนวัตกรรม” ประเด็นสำคัญคือมุ่งนำกำลังคนที่ผ่านการบ่มเพาะไปขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG ที่เป็นทิศทางสำหรับปี 2563 ได้แก่ B-Biotechnology เทคโนโลยีชีวภาพ C-Circular Economy เศรษฐกิจหมุนเวียนและ G- Green Economy เศรษฐกิจสีเขียว
พร้อมนี้ การประชุมในวันแรกมีหัวข้อการบรรยายและเสวนาที่น่าสนใจ ประกอบด้วยเรื่อง“อาชีวะพันธุ์ใหม่ ก้าวสู่ Thailand 4.0” “การใช้วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนากำลังคนตามนโยบายของประเทศ : Thailand 4.0 และเขตเศรษฐกิจพิเศษ”และ “นักประดิษฐ์ไทยก้าวไกล เพื่อการพัฒนากำลังคนและนวัตกรรมที่ยั่งยืน” โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐและภาคเอกชน
โดยมีวิทยากรร่วมงาน เพื่อชี้ทิศทางการพัฒนากำลังคนบนทิศทางBCGและฐานการประดิษฐ์คิดค้นและการพัฒนานวัตกรรมในหัวข้อข้างต้น ได้แก่ นางเจิดฤดี ชินเวโรจน์ ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานอาชีวศึกษาธุรกิจและบริการ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา,นายสุวัฒน์ มีมุข ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สถาบันนวัตกรรมและบ่มเพาะธุรกิจ (BIIC)บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน),ศ.นพ.อภิชาติ อัศวมงคลกุล รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล,ศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์ หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยอุปกรณ์รับรู้ คณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย,นายสาธิต ครองสัตย์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.),นายพีรชัย อัศดาชาตรีกุล Business Development Managerบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน),ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช ผู้อำนวยการ Center of Excellence in Electromagnetic Energy Utilization in Engineering (CEEE) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผศ.ดร.วารุณี อริยวิริยะนันท์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี